ได้อ่านบทความสรุปหนังสือ Competing for the Future ของ Gary Hamel และ C.K.Prahalad ตีพิมพ์โดย Harvard business School
อ่านบทความไปถึงหน้า 7 มีเรื่องของลิง ที่เป็นการทดลองจริงของผู้เขียน อ่านแล้วขำดี เอามาเล่าให้ฟัง...
เขาเอาลิง 4 ตัว มาไว้รวมกันในห้อง ในห้องมีเสาสูงต้นหนึ่งแขวนกล้วยเอาไว้
ลิงตัวหนึ่งปีนขึ้นเสาไป ก่อนที่จะได้คว้ากล้วย ก็โดนรดด้วยน้ำเย็นจากฝักบัว ลิงตัวนั้นก็วิ่งร้องเสียงหลงลงไป หลังจากนั้นอีก 3 ตัวที่เหลือ ก็พยายามปีนขึ้นไปเอากล้วย แต่ก็โดนน้ำเย็นรดจากฝักบัวเหมือนๆกัน สุดท้าย มันทุกตัวก็ยอมแพ้ และเลิกล้มความคิดที่จะกินกล้วยหวีนั้น
เขาเอาลิงออกไปตัวหนึ่ง แล้วเอาตัวใหม่เข้ามา...
พอมันเห็นกล้วยมันก็วิ่งไปที่เสา เริ่มต้นจะปีนขึ้นไปเอากล้วยที่แขวนอยู่ เจ้าลิงสามตัวที่เหลืออยู่ ก็ไปฉุดกระชากเพื่อนหน้าใหม่ลงมาไม่ยอมให้ปีนขึ้นไป ทำอยู่ซักพัก ลิงหน้าใหม่เริ่มเข้าใจว่ามีบางอย่างผิดปกติแน่ บางอย่างที่ไม่ดีจะเกิดขึ้นถ้าไปยุ่งเกี่ยวกับกล้วยหวีนั้น
แล้วเขาก็เปลี่ยนลิงเข้าไปอีกตัวหนึ่ง แล้วก็เกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกัน... จนกระทั่งเปลี่ยนลิงครบ 4 ตัว
สุดท้าย ลิงทั้ง 4 ตัว ในห้องนั้น ต่างไม่เคยโดนน้ำเย็นจากฝักบัวรด จากการพยายามปีนเสาขึ้นไปเอากล้วยที่แขวนอยู่ แต่ลิงทั้ง 4 ตัว ต่างรู้ว่า อย่าปีนเสาต้นนั้น ทั้งที่ไม่มีพวกมันตัวไหนซักตัว จะรู้อย่างแน่ชัดว่าเพราะอะไร และแม้แต่ฝักบัวนั้น จะถูกเอาออกไปแล้วก็ตาม
..........
เคยคิดไหมว่า ทั้งๆที่เราเป็นคน แต่บางครั้งเราก็ทำตัวเหมือนลิง ในขณะที่ตัวเราเองหรือใครบางคน กำลังพยายามปีนไปให้ถึงฝัน ใครคนอื่นหรือตัวเราเองกลับไปดึงเขากลับลงมา เพียงเพราะต้องการช่วย เพียงเพราะความหวังดี เพียงเพราะเชื่อว่า การปีนขึ้นไป จะนำเรื่องไม่ดีมาถึงตัว
บ่อยๆ ครั้งที่อันตรายเหล่านั้น มันแค่ "เคย" มีจริง
คนเราถ้าเชื่อเสียแล้วว่าทำไม่ได้ ก็คงไม่มีอะไรที่เราจะทำได้
..........
ผมจินตนาการเรื่องต่อ...
หากการทดลองนี้ ทำหลายสิบห้อง แต่มีห้องหนึ่งที่เขาลืมให้อาหาร ลิงถูกทิ้งไว้ในห้อง จนในที่สุด ความหิว มีชัยชนะเหนือความกลัว ตัวหนึ่งในนั้น ตัดสินใจวิ่งปีนขึ้นเสาคว้ากล้วยมาได้ โดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น พวกมันแบ่งกันกินอย่างอร่้อย และรู้ว่า เสาต้นนั้นไม่ได้อันตรายอีกต่อไป
เมื่อเขาเอาลิงทั้งฝูง ทุกห้อง มาปล่อยรวมกันในห้องเดียว......
กำลังใจ คงเป็นเรื่องสำคัญที่ลิง 4 ตัวนี้ ต้องมีให้กัน เพื่อร่วมกันยืนหยัดปีนขึ้นไปให้ถึงฝัน...
วันใดที่ลิง 4 ตัวนี้ร่วมกันคว้ากล้วยมากินได้ ไม่ใช่แค่พวกมันจะได้กินกล้วยเท่านั้น
แต่ลิงทั้งฝูงก็จะรู้ในทันทีว่า "เสาต้นนั้น ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มันสามารถปีนได้"
ปล. คิดแล้วก็อยากรู้เหมือนกันว่า ลิงมันจะมี learning curve ไหม?
จนสามารถเอาเรื่องที่เรียนรู้จากประสบการณ์นี้ ไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆในชีวิตได้ด้วย
ไม่ใช่ลิงซะด้วยสิเรา ^^
Jul 31, 2009
Jul 27, 2009
be real
เมื่อวานมีประชุม...
เป็นการประชุมที่...อยากใช้คำว่าตลกดี แม้บรรยากาศการประชุมจะจริงจังมาก
ฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่ (กำลังจะ) เกิดขึ้น ใส่ใจเป็นห่วงกับเรื่องท่าทีและแรงจูงใจในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง
ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ในเอกสาร เพราะเชื่อว่า (เกือบ) ทั้งหมดของ "สาระ" อยู่ในนั้น อย่างน้อยมันก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่เป็นที่มาของการตัดสินใจเลือกว่าจะทำอย่างไรต่อไป ฝ่ายนี้ไม่ได้คิดว่าจะ ทำอย่างไร / ไม่ทำอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญมากเท่ากับสนใจว่าอีกฝ่ายเห็นตรงกันไหม เห็นต่างอย่างไร คิดอย่างไรกับสิ่งต่างๆ ที่ผสมกันจนกลายร่างมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เช่นเอกสารฉบับนั้น
ตลกเพราะว่า แท้ที่จริง ทุกคนอยู่ฝ่ายเดียวกัน เชื่อในธรรมนูญเดียวกัน ปรารถนาดีต่อชุมชนเหมือนกัน เพียงแต่คงจะมีอะไรบางอย่างแตกต่างกัน จึงดูเหมือนอยู่คนละฝ่าย และกลายเป็นการพูดคนละเรื่องเดียวกัน
ให้นึกย้อนไป 10 กว่าปีที่ผ่านมา ที่ถูกสอนให้ใช้ "หัว" คิดมากๆ ให้เยอะๆ กว่าใช้ "ใจ" รู้สึก พยายามใช้หัวฝืนใจ แต่ดูเหมือนมันไม่ใช่ชีวิตผมเลย ไม่เป็นตัวเองเอาเสียเลย เริ่มเป็นคนแปลกหน้ากับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้ชีวิตด้วยความไม่มั่นใจ มีเหตุผลหาข้อแก้ตัวให้ตัวเองไปได้เรื่อยๆ ใช้ชีวิตจริงๆไม่เป็นขึ้นเรื่อยๆ หวาดกลัวกับความคิด ความเข้าใจ ความอยากและความรู้สึกของตัวเอง ต้องพยายามเป็นคนดีตามมาตรฐานของชุมชนอย่างที่คนรอบข้างคาดหวัง หดหู่จนแทบบ้า หมดแรงจะทำสิ่งดีๆเพื่อคนอื่น (แค่ตัวเองยังแทบไม่มีแรงจะใช้ชีวิต)
จนหลายปีก่อนที่เริ่มคิดได้ว่า หากยังใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ชีวิตก็คงไม่พ้นเป็นเหมือนเดิมๆ ไม่ช้าก็เร็ว คงต้องรับผลเดิมๆ ใช้ชีวิตทรมานคนเดียวอย่างนั้นอีกแน่ จึงเริ่มเดินออกมานอกกรอบที่ถูกสอนมา เรียนรู้และหาหนทางของตัวเอง โดยใช้ หัว และ ใจ ตามเสียงของพระเจ้าที่ตัวผมเองรู้จัก
แน่นอนว่าชีวิตมันก็ขึ้นบ้างลงบ้าง ลำบากบ้าง สบายบ้าง (ซึ่งจริงๆแล้ว ผมก็มองว่ามันเป็นเรื่องปกติของชีวิตมนุษย์นะ) แต่ที่สำคัญคือมันเป็นชีวิตจริงๆที่เราได้ใช้ เรียนรู้ รู้สึก และสัมผัสได้ ผ่านความเชื่อของตัวเราเอง
-----------------------------------------
เมื่อคืนมีน้องคนนึงโทรมาหา...
เขาเองบอกว่า ตอนนี้ก็เพิ่งจะเรียนจบ ยังไม่ได้ออกปากว่าจะอยู่ที่ไหนเป็นหลักแหล่ง แต่มีพี่ที่สนิทกันชวนให้มาอยู่ที่เดียวกันกับผม ตัวเขาเองก็อยากจะไปดูให้ทั่วๆก่อน เขาบอกว่า จริงๆอยากจะอยู่ในสังกัดเดิม เพราะเขารู้สึกรักผูกพันกับที่นี่ ไม่มีเหตุผลอื่น ไม่ได้คิดอะไรมาก แค่รู้สึกรักและผูกพัน...
ช่วงแรกก็กลับไปที่หน่วยงานเดิม แต่คิดว่าบรรยากาศไม่ไหวจริงๆ ก็เลยจะลองหาที่อื่นดู
เขาเชื่อว่าที่นี่ดีที่สุดแล้ว ถึงจะมีการแยกย้ายกัน แต่ก็ยังอยากจะอยู่ภายในหน่วยงานที่แยกออกมาจากสังกัดเดิม...
เท่านี้เพียงพอไหมนะ ที่เขาจะเลือกใช้ชีวิตของเขาเองที่ไหนซักที่นึง
ผมคิดว่าพอ
-----------------------------------------
เมื่อวานวันก่อนมีคนพูดให้ฟัง...
เขาถามว่า อะไรเป็นอุปสรรคปิดกั้นไม่ให้เราเป็นตัวของตัวเองจริงๆในการดำเนินชีวิตประจำวัน
เขาบอกว่า เราสามารถเป็นตัวเองได้ และพัฒนาเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้ โดยยอมอณุญาตให้พระเจ้าเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตเราจากภายใน ทั้งการเป็นตัวเองและการ (กำลัง) เป็นเหมือนพระคริสต์ไม่ขัดแย้งกัน
ผมตอบตัวเองว่า สำหรับผมแล้ว ความกลัว และ การทำตามความคาดหวังของคนรอบข้าง ทำให้ผมสูญเสียความเป็นตัวเองได้ง่ายที่สุด
ผมคิดต่อได้ว่า หากเราไม่เริ่มต้น ยอมรับ ว่าจริงๆแล้วเราเป็นอย่างไร อ่อนแออย่างไร ไม่สมบูรณ์อย่างไร หรือแม้แต่เราไม่รู้ว่าเราป่วยเป็นอะไร เราจะยอมให้พระเจ้าเข้ามาเปลี่ยนเราได้อย่างไร หากเราไม่ยอมรับว่าเราเจ็บป่วย เราจะต้องการหมอหรือ
ผมเชื่อว่า หนทางสู่การดำเนินชีวิตในความจริง เริ่มต้นด้วย "การยอมรับ" ในความไม่สมบูรณ์ของเรา ในความอ่อนแอ ในความกลัว ในความไม่รู้... และ "การร้องขอ" ความช่วยเหลือ ซึ่งระหว่างการรอรับการช่วยเหลือ เราจะต้องใช้ หัวและใจ ของเราอย่างทุ่มเทและอย่างสมดุล
-----------------------------------------
ผมเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่า... ตั้งแต่เด็กมา ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ เอาเป็นว่าเริ่มจำความได้ สิ่งที่ถูกสอนมาตลอด คือ เวลาจะทำอะไรบางอย่างเนี่ย คนอื่นเขาคิดอย่างไร เขามองอย่างไร ซึ่งมันสร้างนิสัยให้ผมเป็นคนที่สนใจความคาดหวังของคนอื่นโดนไม่รู้ตัว เพียงแต่มันนานมากไป จนเอียงข้าง กระบวนการที่ซับซ้อนของ สมองและจิตใจ พัฒนาให้ผมเป็นคนที่ต้องการ การยอมรับจากคนอื่น แสวงหาความมั่นใจจากเสียงส่วนใหญ่ เลือกทำในสิ่งที่ตัวเองไม่เชื่อว่าดีที่สุดกับตัวเองก่อน และอื่นๆอีกมากมายที่ผิดจากวิถีปกติของมนุษย์ทั่วๆไป
จากเด็กร่าเริง มองโลกแง่ดี มีความฝัน กลายเป็น คนหดหู่ ซึมเศร้า หมดไฟ ไม่กล้าฝัน แง่ลบ ขี้แพ้... ความไม่จริงฆ่าคนๆหนึ่งให้ตายอย่างช้าๆได้อย่างเลือดเย็น
การใช้เหตุและผล เป็นสิ่งดี แต่หากปราศจากความรู้สึก เราคงเป็นคนที่มีหลักความคิดดี แต่อาจจะไม่ได้มีชีวิตดีก็ได้
การใช้เหตุและผลล้วนๆ อาจทำให้เราสามารถเอาชนะคนอื่นได้เสมอๆ บังคับให้คนต้องจำนนด้วยเหตุผล แต่จริงๆชีวิตคนมีมากกว่าเรื่องเหตุและผล
แม้คงจะมีหลายคนให้ความนิยมชมชอบและพอใจอยู่เสมอๆ แต่คนอีกไม่น้อยที่คงไม่ชอบใจนัก และอาจมีบ้างที่ถึงขั้นเกลียดชัง โดยเฉพาะหากเหตุผลนั้นมันไม่ได้เกิดจากความเข้าใจในชีวิตจริงๆ แต่เป็นเพียงความเข้าใจในความคิด
อย่างน้อย ผมคนหนึ่งล่ะที่ไม่ชอบตัวเองมาตลอด เพราะตัวเองกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะคนอื่นด้วยเหตุผลเสียเอง
ขอบคุณพระเจ้าที่ยังทรงเมตตา...
มองย้อนกลับไป 30 ปีที่ผ่านมา วันนี้ถึงได้เข้าใจวิถีของความจริง การดำเนินชีวิตในความจริง... วิถีของคนจริง
ยอห์น 7:18 ผู้ใดที่พูดตามใจชอบของตนเอง ผู้นั้นย่อมแสวงเกียรติสำหรับตนเอง แต่ผู้ที่แสวงเกียรติให้พระองค์ผู้ทรงใช้ตนมา ผู้นั้นแหละเป็นคนจริงไม่มีอธรรมเลย
เป็นการประชุมที่...อยากใช้คำว่าตลกดี แม้บรรยากาศการประชุมจะจริงจังมาก
ฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่ (กำลังจะ) เกิดขึ้น ใส่ใจเป็นห่วงกับเรื่องท่าทีและแรงจูงใจในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง
ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ในเอกสาร เพราะเชื่อว่า (เกือบ) ทั้งหมดของ "สาระ" อยู่ในนั้น อย่างน้อยมันก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่เป็นที่มาของการตัดสินใจเลือกว่าจะทำอย่างไรต่อไป ฝ่ายนี้ไม่ได้คิดว่าจะ ทำอย่างไร / ไม่ทำอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญมากเท่ากับสนใจว่าอีกฝ่ายเห็นตรงกันไหม เห็นต่างอย่างไร คิดอย่างไรกับสิ่งต่างๆ ที่ผสมกันจนกลายร่างมาเป็นสิ่งที่จับต้องได้เช่นเอกสารฉบับนั้น
ตลกเพราะว่า แท้ที่จริง ทุกคนอยู่ฝ่ายเดียวกัน เชื่อในธรรมนูญเดียวกัน ปรารถนาดีต่อชุมชนเหมือนกัน เพียงแต่คงจะมีอะไรบางอย่างแตกต่างกัน จึงดูเหมือนอยู่คนละฝ่าย และกลายเป็นการพูดคนละเรื่องเดียวกัน
ให้นึกย้อนไป 10 กว่าปีที่ผ่านมา ที่ถูกสอนให้ใช้ "หัว" คิดมากๆ ให้เยอะๆ กว่าใช้ "ใจ" รู้สึก พยายามใช้หัวฝืนใจ แต่ดูเหมือนมันไม่ใช่ชีวิตผมเลย ไม่เป็นตัวเองเอาเสียเลย เริ่มเป็นคนแปลกหน้ากับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้ชีวิตด้วยความไม่มั่นใจ มีเหตุผลหาข้อแก้ตัวให้ตัวเองไปได้เรื่อยๆ ใช้ชีวิตจริงๆไม่เป็นขึ้นเรื่อยๆ หวาดกลัวกับความคิด ความเข้าใจ ความอยากและความรู้สึกของตัวเอง ต้องพยายามเป็นคนดีตามมาตรฐานของชุมชนอย่างที่คนรอบข้างคาดหวัง หดหู่จนแทบบ้า หมดแรงจะทำสิ่งดีๆเพื่อคนอื่น (แค่ตัวเองยังแทบไม่มีแรงจะใช้ชีวิต)
จนหลายปีก่อนที่เริ่มคิดได้ว่า หากยังใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ชีวิตก็คงไม่พ้นเป็นเหมือนเดิมๆ ไม่ช้าก็เร็ว คงต้องรับผลเดิมๆ ใช้ชีวิตทรมานคนเดียวอย่างนั้นอีกแน่ จึงเริ่มเดินออกมานอกกรอบที่ถูกสอนมา เรียนรู้และหาหนทางของตัวเอง โดยใช้ หัว และ ใจ ตามเสียงของพระเจ้าที่ตัวผมเองรู้จัก
แน่นอนว่าชีวิตมันก็ขึ้นบ้างลงบ้าง ลำบากบ้าง สบายบ้าง (ซึ่งจริงๆแล้ว ผมก็มองว่ามันเป็นเรื่องปกติของชีวิตมนุษย์นะ) แต่ที่สำคัญคือมันเป็นชีวิตจริงๆที่เราได้ใช้ เรียนรู้ รู้สึก และสัมผัสได้ ผ่านความเชื่อของตัวเราเอง
-----------------------------------------
เมื่อคืนมีน้องคนนึงโทรมาหา...
เขาเองบอกว่า ตอนนี้ก็เพิ่งจะเรียนจบ ยังไม่ได้ออกปากว่าจะอยู่ที่ไหนเป็นหลักแหล่ง แต่มีพี่ที่สนิทกันชวนให้มาอยู่ที่เดียวกันกับผม ตัวเขาเองก็อยากจะไปดูให้ทั่วๆก่อน เขาบอกว่า จริงๆอยากจะอยู่ในสังกัดเดิม เพราะเขารู้สึกรักผูกพันกับที่นี่ ไม่มีเหตุผลอื่น ไม่ได้คิดอะไรมาก แค่รู้สึกรักและผูกพัน...
ช่วงแรกก็กลับไปที่หน่วยงานเดิม แต่คิดว่าบรรยากาศไม่ไหวจริงๆ ก็เลยจะลองหาที่อื่นดู
เขาเชื่อว่าที่นี่ดีที่สุดแล้ว ถึงจะมีการแยกย้ายกัน แต่ก็ยังอยากจะอยู่ภายในหน่วยงานที่แยกออกมาจากสังกัดเดิม...
เท่านี้เพียงพอไหมนะ ที่เขาจะเลือกใช้ชีวิตของเขาเองที่ไหนซักที่นึง
ผมคิดว่าพอ
-----------------------------------------
เมื่อวานวันก่อนมีคนพูดให้ฟัง...
เขาถามว่า อะไรเป็นอุปสรรคปิดกั้นไม่ให้เราเป็นตัวของตัวเองจริงๆในการดำเนินชีวิตประจำวัน
เขาบอกว่า เราสามารถเป็นตัวเองได้ และพัฒนาเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้ โดยยอมอณุญาตให้พระเจ้าเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตเราจากภายใน ทั้งการเป็นตัวเองและการ (กำลัง) เป็นเหมือนพระคริสต์ไม่ขัดแย้งกัน
ผมตอบตัวเองว่า สำหรับผมแล้ว ความกลัว และ การทำตามความคาดหวังของคนรอบข้าง ทำให้ผมสูญเสียความเป็นตัวเองได้ง่ายที่สุด
ผมคิดต่อได้ว่า หากเราไม่เริ่มต้น ยอมรับ ว่าจริงๆแล้วเราเป็นอย่างไร อ่อนแออย่างไร ไม่สมบูรณ์อย่างไร หรือแม้แต่เราไม่รู้ว่าเราป่วยเป็นอะไร เราจะยอมให้พระเจ้าเข้ามาเปลี่ยนเราได้อย่างไร หากเราไม่ยอมรับว่าเราเจ็บป่วย เราจะต้องการหมอหรือ
ผมเชื่อว่า หนทางสู่การดำเนินชีวิตในความจริง เริ่มต้นด้วย "การยอมรับ" ในความไม่สมบูรณ์ของเรา ในความอ่อนแอ ในความกลัว ในความไม่รู้... และ "การร้องขอ" ความช่วยเหลือ ซึ่งระหว่างการรอรับการช่วยเหลือ เราจะต้องใช้ หัวและใจ ของเราอย่างทุ่มเทและอย่างสมดุล
-----------------------------------------
ผมเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่า... ตั้งแต่เด็กมา ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ เอาเป็นว่าเริ่มจำความได้ สิ่งที่ถูกสอนมาตลอด คือ เวลาจะทำอะไรบางอย่างเนี่ย คนอื่นเขาคิดอย่างไร เขามองอย่างไร ซึ่งมันสร้างนิสัยให้ผมเป็นคนที่สนใจความคาดหวังของคนอื่นโดนไม่รู้ตัว เพียงแต่มันนานมากไป จนเอียงข้าง กระบวนการที่ซับซ้อนของ สมองและจิตใจ พัฒนาให้ผมเป็นคนที่ต้องการ การยอมรับจากคนอื่น แสวงหาความมั่นใจจากเสียงส่วนใหญ่ เลือกทำในสิ่งที่ตัวเองไม่เชื่อว่าดีที่สุดกับตัวเองก่อน และอื่นๆอีกมากมายที่ผิดจากวิถีปกติของมนุษย์ทั่วๆไป
จากเด็กร่าเริง มองโลกแง่ดี มีความฝัน กลายเป็น คนหดหู่ ซึมเศร้า หมดไฟ ไม่กล้าฝัน แง่ลบ ขี้แพ้... ความไม่จริงฆ่าคนๆหนึ่งให้ตายอย่างช้าๆได้อย่างเลือดเย็น
การใช้เหตุและผล เป็นสิ่งดี แต่หากปราศจากความรู้สึก เราคงเป็นคนที่มีหลักความคิดดี แต่อาจจะไม่ได้มีชีวิตดีก็ได้
การใช้เหตุและผลล้วนๆ อาจทำให้เราสามารถเอาชนะคนอื่นได้เสมอๆ บังคับให้คนต้องจำนนด้วยเหตุผล แต่จริงๆชีวิตคนมีมากกว่าเรื่องเหตุและผล
แม้คงจะมีหลายคนให้ความนิยมชมชอบและพอใจอยู่เสมอๆ แต่คนอีกไม่น้อยที่คงไม่ชอบใจนัก และอาจมีบ้างที่ถึงขั้นเกลียดชัง โดยเฉพาะหากเหตุผลนั้นมันไม่ได้เกิดจากความเข้าใจในชีวิตจริงๆ แต่เป็นเพียงความเข้าใจในความคิด
อย่างน้อย ผมคนหนึ่งล่ะที่ไม่ชอบตัวเองมาตลอด เพราะตัวเองกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะคนอื่นด้วยเหตุผลเสียเอง
ขอบคุณพระเจ้าที่ยังทรงเมตตา...
มองย้อนกลับไป 30 ปีที่ผ่านมา วันนี้ถึงได้เข้าใจวิถีของความจริง การดำเนินชีวิตในความจริง... วิถีของคนจริง
ยอห์น 7:18 ผู้ใดที่พูดตามใจชอบของตนเอง ผู้นั้นย่อมแสวงเกียรติสำหรับตนเอง แต่ผู้ที่แสวงเกียรติให้พระองค์ผู้ทรงใช้ตนมา ผู้นั้นแหละเป็นคนจริงไม่มีอธรรมเลย
Jul 23, 2009
(ไม่) หนี... (แต่ขอทำ)ตามกาลิเลโอ
เมื่อวาน ไปดูหนัง "หนีตามกาลิเลโอ" รอบพิเศษกับทางคณะนิเทศ จุฬาฯ...
ไม่ได้จะมา review หนัง ไม่ได้จะมาเชียร์ แต่อยากให้ดู หนังไทยดีๆ ไม่มีฉากหวือหวาให้สยิวกิ้วอารมณ์ หรือทำได้เพียงเรียกเสียงหัวเราะแต่ไม่เพิ่มรอยหยักให้สมอง เหมือนหนังบางเรื่องที่เพิ่งจะจัดงานฉลองไปไม่กี่วันนี้
เป็นหนังที่โคตรจริง มีความเป็นคนอยู่เต็มเปี่ยมในหนังเรื่องนี้...
เป็นเรื่องปกติ ที่ใครๆก็อยากฟังความจริง แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาอีกเช่นกัน ที่เราจะไม่อยากยอมรับมันหากว่ามันไม่ตรงกับสิ่งที่เราอยากได้ยิน บ่อยครั้ง เราเลือกปฏิเสธที่จะยอมรับความจริง ด้วยการมีเหตุผล ด้วยข้ออ้าง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการบอกว่าคนพูดไม่น่าเชื่อถือ ด้วยประสบการณ์ของเราเอง หรือแม้แต่ด้วยการหนี
หนีไปจากคำจริงเหล่านั้น หนีไปจากคนพูด หนีไปจากสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย หนีไปจากโลกด้วยการฆ่าัตัวตาย หรือแม้แต่หนีไปจากตัวเองด้วยการมีโลกส่วนตัว แต่ความจริงก็คือความจริง ไม่มีใครหนีพ้น มันเป็นกฎสากลเหมือนกฎแรงโน้มถ่วงของโลกนี้
ณ หอเอนแห่งเมืองปิซ่า บ้านเกิดของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตัวพ่อชื่อ กาลิเลโอ เขาทดลองทิ้งวัตถุชนิดเดียวกัน 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาด (น้ำหนัก) ไม่เท่ากัน จากความสูงเดียวกัน พร้อมๆกัน เพื่อพิสูจน์ว่า ทฤษฎีของเขาถูกต้อง หากวัตถุทั้งสองชิ้นตกถึงพื้นพร้อมกัน... แน่นอนว่า ทฤษฎีของเขาถูกต้อง แต่ขัดแย้งกับแนวคิดของศาสนจักร ซึ่งทำให้เขา ถูกหมายหัวว่าเป็นพวก "ขบถ" ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดนับแต่นั้นมา
และอีกครั้งที่เขาสร้างความขัดแย้งกับศาสนจักร เมื่อประกาศสนับสนุนแนวคิดว่า โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล แต่เป็นดวงอาทิตย์ต่างหาก คำประกาศของเขาหักล้างความเชื่อที่ ศาสนจักร เพียรพยายามส่งเสริมชนทั้งหลายให้เชื่อว่า จักรวาลนี้มีโลกเป็นศูนย์กลาง ลงอย่างสิ้นเชิง
และนั่นจึงนำภัยมาสู่ตัวเขา ศาสนจักรเห็นเขาเป็นตัวอันตรายที่ต้องจัดการในทันที เขาถูกสั่งขัง สูญเสียอิสรภาพทางกาย และต้องมีชีวิตลำบากเป็นอย่างมากตลอดชั่วชีวิตของเขา
บางคนเลือกที่จะหนีความจริงว่าตัวเองผิด ด้วยการโทษความห่วยแตกของสังคมคนรอบข้าง โยนขี้ให้คนอื่น และ (หนี) ไปจากสังคมนั้น
บางคนเลือกจะหนีความบกพร่อง/ความอ่อนแอของตัวเอง ด้วยการ เปลี่ยน สภาพแวดล้อมที่ตัวเองอยู่เสียใหม่
แต่โลกนี้มักเต็มไปด้วยเรื่องตลกร้ายกาจที่คาดไม่ถึง บทเรียนแห่งชีวิตที่เราสอบไม่ผ่าน จะวนกลับมาหาเราเสมอ ไม่ว่าเราจะ หนี ไปที่ไหน หรือ ด้วยรูปแบบใด เพื่อช่วยเราให้ไปถึงยังปลายทางแห่งการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆได้ แม้จะด้วยราคาและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าเราจะเลือกยืนหยัดต่อความจริงเหมือนกาลิเลโอ หรือโอนอ่่อนนั่งทำใจอยู่ไปวันๆ เป็นดั่งคนตายที่รอเพียงเวลาหมดลมหายใจ ความจริง ก็คือ เราไม่ใช่ศูนย์กลางของโลกใบนี้ ทุกความล้มเหลว ทุกความผิดพลาด เรามีส่วนร่วมรับผิดชอบไม่มากก็น้อย เราไม่สามารถปัดความรับผิดชอบของผลที่เกิดขึ้นได้ ไม่มีใครทำอะไรเราได้ ถ้าเราไม่ทำตั้งแต่แรก
หากเราไม่กล้ายอมรับความจริง สิ่งที่เรารู้สึกจริงๆ สิ่งที่เราเชื่อจริงๆ หรือแม้แต่ความผิดที่เราทำไว้จริงๆ เราก็จะไม่เปลี่ยนแปลงจริงๆสักที ต่อให้เปลี่ยนสิ่งนอกตัวไปเท่าไหร่ เราก็จะยังไม่เข้าใจ บางทีอาจต้องใช้เวลานานนับร้อยปีเหมือนที่กว่าคนจะยอมรับว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล เราจึงจะเข้าใจว่า เราเองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกกว้างๆใบนี้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้นอกจากเปลี่ยนตัวเองก่อน และเราจะไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งมนุษยโลกได้เลย หากไม่กล้ายืนหยัดต่อความจริงที่เราพบ เชื่อ และรับไว้
ใครจะหนีตามกาลิเลโอ ยกมือขึ้น !!!
ไม่ได้จะมา review หนัง ไม่ได้จะมาเชียร์ แต่อยากให้ดู หนังไทยดีๆ ไม่มีฉากหวือหวาให้สยิวกิ้วอารมณ์ หรือทำได้เพียงเรียกเสียงหัวเราะแต่ไม่เพิ่มรอยหยักให้สมอง เหมือนหนังบางเรื่องที่เพิ่งจะจัดงานฉลองไปไม่กี่วันนี้
เป็นหนังที่โคตรจริง มีความเป็นคนอยู่เต็มเปี่ยมในหนังเรื่องนี้...
เป็นเรื่องปกติ ที่ใครๆก็อยากฟังความจริง แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาอีกเช่นกัน ที่เราจะไม่อยากยอมรับมันหากว่ามันไม่ตรงกับสิ่งที่เราอยากได้ยิน บ่อยครั้ง เราเลือกปฏิเสธที่จะยอมรับความจริง ด้วยการมีเหตุผล ด้วยข้ออ้าง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการบอกว่าคนพูดไม่น่าเชื่อถือ ด้วยประสบการณ์ของเราเอง หรือแม้แต่ด้วยการหนี
หนีไปจากคำจริงเหล่านั้น หนีไปจากคนพูด หนีไปจากสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย หนีไปจากโลกด้วยการฆ่าัตัวตาย หรือแม้แต่หนีไปจากตัวเองด้วยการมีโลกส่วนตัว แต่ความจริงก็คือความจริง ไม่มีใครหนีพ้น มันเป็นกฎสากลเหมือนกฎแรงโน้มถ่วงของโลกนี้
ณ หอเอนแห่งเมืองปิซ่า บ้านเกิดของนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตัวพ่อชื่อ กาลิเลโอ เขาทดลองทิ้งวัตถุชนิดเดียวกัน 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาด (น้ำหนัก) ไม่เท่ากัน จากความสูงเดียวกัน พร้อมๆกัน เพื่อพิสูจน์ว่า ทฤษฎีของเขาถูกต้อง หากวัตถุทั้งสองชิ้นตกถึงพื้นพร้อมกัน... แน่นอนว่า ทฤษฎีของเขาถูกต้อง แต่ขัดแย้งกับแนวคิดของศาสนจักร ซึ่งทำให้เขา ถูกหมายหัวว่าเป็นพวก "ขบถ" ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดนับแต่นั้นมา
และอีกครั้งที่เขาสร้างความขัดแย้งกับศาสนจักร เมื่อประกาศสนับสนุนแนวคิดว่า โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล แต่เป็นดวงอาทิตย์ต่างหาก คำประกาศของเขาหักล้างความเชื่อที่ ศาสนจักร เพียรพยายามส่งเสริมชนทั้งหลายให้เชื่อว่า จักรวาลนี้มีโลกเป็นศูนย์กลาง ลงอย่างสิ้นเชิง
และนั่นจึงนำภัยมาสู่ตัวเขา ศาสนจักรเห็นเขาเป็นตัวอันตรายที่ต้องจัดการในทันที เขาถูกสั่งขัง สูญเสียอิสรภาพทางกาย และต้องมีชีวิตลำบากเป็นอย่างมากตลอดชั่วชีวิตของเขา
บางคนเลือกที่จะหนีความจริงว่าตัวเองผิด ด้วยการโทษความห่วยแตกของสังคมคนรอบข้าง โยนขี้ให้คนอื่น และ (หนี) ไปจากสังคมนั้น
บางคนเลือกจะหนีความบกพร่อง/ความอ่อนแอของตัวเอง ด้วยการ เปลี่ยน สภาพแวดล้อมที่ตัวเองอยู่เสียใหม่
แต่โลกนี้มักเต็มไปด้วยเรื่องตลกร้ายกาจที่คาดไม่ถึง บทเรียนแห่งชีวิตที่เราสอบไม่ผ่าน จะวนกลับมาหาเราเสมอ ไม่ว่าเราจะ หนี ไปที่ไหน หรือ ด้วยรูปแบบใด เพื่อช่วยเราให้ไปถึงยังปลายทางแห่งการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆได้ แม้จะด้วยราคาและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าเราจะเลือกยืนหยัดต่อความจริงเหมือนกาลิเลโอ หรือโอนอ่่อนนั่งทำใจอยู่ไปวันๆ เป็นดั่งคนตายที่รอเพียงเวลาหมดลมหายใจ ความจริง ก็คือ เราไม่ใช่ศูนย์กลางของโลกใบนี้ ทุกความล้มเหลว ทุกความผิดพลาด เรามีส่วนร่วมรับผิดชอบไม่มากก็น้อย เราไม่สามารถปัดความรับผิดชอบของผลที่เกิดขึ้นได้ ไม่มีใครทำอะไรเราได้ ถ้าเราไม่ทำตั้งแต่แรก
หากเราไม่กล้ายอมรับความจริง สิ่งที่เรารู้สึกจริงๆ สิ่งที่เราเชื่อจริงๆ หรือแม้แต่ความผิดที่เราทำไว้จริงๆ เราก็จะไม่เปลี่ยนแปลงจริงๆสักที ต่อให้เปลี่ยนสิ่งนอกตัวไปเท่าไหร่ เราก็จะยังไม่เข้าใจ บางทีอาจต้องใช้เวลานานนับร้อยปีเหมือนที่กว่าคนจะยอมรับว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล เราจึงจะเข้าใจว่า เราเองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกกว้างๆใบนี้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้นอกจากเปลี่ยนตัวเองก่อน และเราจะไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์แห่งมนุษยโลกได้เลย หากไม่กล้ายืนหยัดต่อความจริงที่เราพบ เชื่อ และรับไว้
ใครจะหนีตามกาลิเลโอ ยกมือขึ้น !!!
Jul 3, 2009
ทฤษฎีเกม
ทฤษฎีเกม หรือ Game Theory เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักเ๋ศรษฐศาสตร์และนักวางแผนกลยุทธ์ทั่วไป
หลายคนที่เคยชมภาพยนตร์เรื่อง a beautiful mind ซึ่งสร้างจากเค้าโครงชีวิตจริงของ จอห์น แนช (John Nash) นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ คงอาจพอทราบบ้างว่า ทฤษฎีนี้ใช้เ็ป็นเครื่องมือในการตัดสินใจเลือกได้เป็นอย่างดี
ทุกเวลาที่ผ่านไปของชีวิตเรา เราต้องเลือกอยู่ตลอดเวลาว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร การเลือกจึงเป็นเรื่องปกติของชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเลือกด้วยความรู้สึก เลือกด้วยเหตุและผล หรือแม้แต่เลือกตามๆเขาไป จะใช้ข้อมูลหรือไม่ใช่ อย่างไรเราก็ต้องเลือกอยู่ดี
ทฤษฎีเกมเป็นการแสดงความเป็นไปได้ของผลลัพธ์จากทางเลือกต่างๆ โดยสมมติว่า มีผู้เล่น 2 คน ในเกม และผู้เล่นทั้งคู่ต่างมีเหตุมีผล ดังนั้น ผู้เล่นจะเลือกทางเลือกที่ตนได้ผลประโยชน์มากที่สุดเสมอ โดยปกติมักไม่ใช้กฎเกณฑ์ทางศีลธรรม/มนุษยธรรม มาพิจารณาด้วย (เพราะมันวัดได้ลำบากในการจะบอกว่าใครเป็นคนดี) คงไม่ผิดนัก ถ้าจะบอกว่า ทฤษฎีนี้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่า มนุษย์นั้นล้วนเห็นแก่ตัว
ลักษณะรูปแบบของเกมส์ที่เล่นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหน หลักคิดสำคัญ คือ เราจะเลือกใช้กลยุทธ์ใดเมื่อผู้เล่นอีกฝ่ายเลือกกลยุทธ์ต่างๆ
บางเกมเราเลือกก่อน บางเกมเขาเลือกก่อน บางเกมเลือกพร้อมกัน บางเกมเล่นครั้งเดียว บางเกมเล่นระยะยาว ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ถ้าหากไม่ว่าอีกผ่ายจะเลือกอย่างไร เรายังคงควรเลือกกลยุทธ์เดิม เรียกกลยุทธ์นั้นสำหรับเราว่าเป็น "กลยุทธ์เด่น" ในขณะเดียวกัน อาจมีบางกลยุทธ์ให้ผลตอบแทนแก่เราต่ำกว่าทางเลือกอื่นๆเสมอ นั่นคือ "กลยุทธ์หมอบ" สำหรับเรา
หากทั้งสองฝ่ายสามารถเลือกกลยุทธ์ที่ทำให้ต่างก็ได้รับความพอใจมากที่สุด เพราะไม่สามารถได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ด้วยการเปลี่ยนไปเลือกทางเลือกอื่นๆ เราเรียกกลยุทธ์นั้นว่า "จุดสมดุลย์ของแนช" (Nash's equilibrium)
สมมติว่า ในสถานการณ์หนึ่ง เรากับอีกฝ่ายต่างมีทางเลือก A และทางเลือก B
หากเขาเลือก A แล้วเราเลือก A เกิดประโยชน์ เราได้ 5 เขาได้ 10
หากเขาเลือก A แล้วเราเลือก B เกิดประโยชน์ เราได้ 4 เขาได้ 3
หากเขาเลือก B แล้วเราเลือก A เกิดประโยชน์ เราได้ 3 เขาได้ 8
หากเขาเลือก B แล้วเราเลือก B เกิดประโยชน์ เราได้ 2 เขาได้ 1
คุณคิดว่า เรา ควรเลือกกลยุทธ์ใด เกมนี้มีกลยุทธ์เด่นของเราหรือไม่ ถ้ามีคืออะไร.....
ลองคิดก่อนจะอ่านต่อไปนะครับ
.
.
.
ดูเหมือนว่า ทางเลือก B น่าจะเป็นกลยุทธ์เด่นของเรา เพราะไม่ว่าอีกฝ่ายจะเลือกอะไร เราก็ได้ "มากกว่าเขา" เสมอ ดังนั้น ทางเลือก A จึงเป็นกลยุทธ์หมอบที่น่าหลบเลี่ยงของเราเสมอ ด้วยวิธีการให้เหตุผลอย่างเดียวกัน
แท้ที่จริงแล้ว แก่นแท้ของการใช้ทฤษฎีเกม หรือ การคิดเชิงกลยุทธ์ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม แต่เป้าหมายของเราคือ การมุ่งเลือกทางเลือกที่จะสามารถรักษา/ได้รับผลประโยชน์ของตัวเราเองให้ได้มากที่สุด
ดังนั้น จากตัวอย่างสถานการณ์ข้างต้น ทางเลือก A จึงเป็นกลยุทธ์เด่นของเรา เพราะไม่ว่าเขาจะเลือกอะไร เราจะได้ผลตอบแทนมากที่สุดเสมอในความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้น
หากเราไม่พยายามจะเอาชนะกันและกันมากจนเกินไปนัก มากจนบ่อยครั้งถึงขั้นทำร้ายตัวเอง เพื่อให้อีกฝ่ายได้ผลตอบแทนที่น้อยลง หากเราหันกลับมามุ่งพิจารณาทางเลือก เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ต่อตัวเองมากที่สุด บางทีโลกอาจจะเกิดความผาสุขท่ามกลางมนุษย์ผู้กำลังแย่งชิงกัน มากกว่า ณ ปัจจุบันนี้ก็เป็นได้
หลายคนที่เคยชมภาพยนตร์เรื่อง a beautiful mind ซึ่งสร้างจากเค้าโครงชีวิตจริงของ จอห์น แนช (John Nash) นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ คงอาจพอทราบบ้างว่า ทฤษฎีนี้ใช้เ็ป็นเครื่องมือในการตัดสินใจเลือกได้เป็นอย่างดี
ทุกเวลาที่ผ่านไปของชีวิตเรา เราต้องเลือกอยู่ตลอดเวลาว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร การเลือกจึงเป็นเรื่องปกติของชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเลือกด้วยความรู้สึก เลือกด้วยเหตุและผล หรือแม้แต่เลือกตามๆเขาไป จะใช้ข้อมูลหรือไม่ใช่ อย่างไรเราก็ต้องเลือกอยู่ดี
ทฤษฎีเกมเป็นการแสดงความเป็นไปได้ของผลลัพธ์จากทางเลือกต่างๆ โดยสมมติว่า มีผู้เล่น 2 คน ในเกม และผู้เล่นทั้งคู่ต่างมีเหตุมีผล ดังนั้น ผู้เล่นจะเลือกทางเลือกที่ตนได้ผลประโยชน์มากที่สุดเสมอ โดยปกติมักไม่ใช้กฎเกณฑ์ทางศีลธรรม/มนุษยธรรม มาพิจารณาด้วย (เพราะมันวัดได้ลำบากในการจะบอกว่าใครเป็นคนดี) คงไม่ผิดนัก ถ้าจะบอกว่า ทฤษฎีนี้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่า มนุษย์นั้นล้วนเห็นแก่ตัว
ลักษณะรูปแบบของเกมส์ที่เล่นมีหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหน หลักคิดสำคัญ คือ เราจะเลือกใช้กลยุทธ์ใดเมื่อผู้เล่นอีกฝ่ายเลือกกลยุทธ์ต่างๆ
บางเกมเราเลือกก่อน บางเกมเขาเลือกก่อน บางเกมเลือกพร้อมกัน บางเกมเล่นครั้งเดียว บางเกมเล่นระยะยาว ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ถ้าหากไม่ว่าอีกผ่ายจะเลือกอย่างไร เรายังคงควรเลือกกลยุทธ์เดิม เรียกกลยุทธ์นั้นสำหรับเราว่าเป็น "กลยุทธ์เด่น" ในขณะเดียวกัน อาจมีบางกลยุทธ์ให้ผลตอบแทนแก่เราต่ำกว่าทางเลือกอื่นๆเสมอ นั่นคือ "กลยุทธ์หมอบ" สำหรับเรา
หากทั้งสองฝ่ายสามารถเลือกกลยุทธ์ที่ทำให้ต่างก็ได้รับความพอใจมากที่สุด เพราะไม่สามารถได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ด้วยการเปลี่ยนไปเลือกทางเลือกอื่นๆ เราเรียกกลยุทธ์นั้นว่า "จุดสมดุลย์ของแนช" (Nash's equilibrium)
สมมติว่า ในสถานการณ์หนึ่ง เรากับอีกฝ่ายต่างมีทางเลือก A และทางเลือก B
หากเขาเลือก A แล้วเราเลือก A เกิดประโยชน์ เราได้ 5 เขาได้ 10
หากเขาเลือก A แล้วเราเลือก B เกิดประโยชน์ เราได้ 4 เขาได้ 3
หากเขาเลือก B แล้วเราเลือก A เกิดประโยชน์ เราได้ 3 เขาได้ 8
หากเขาเลือก B แล้วเราเลือก B เกิดประโยชน์ เราได้ 2 เขาได้ 1
คุณคิดว่า เรา ควรเลือกกลยุทธ์ใด เกมนี้มีกลยุทธ์เด่นของเราหรือไม่ ถ้ามีคืออะไร.....
ลองคิดก่อนจะอ่านต่อไปนะครับ
.
.
.
ดูเหมือนว่า ทางเลือก B น่าจะเป็นกลยุทธ์เด่นของเรา เพราะไม่ว่าอีกฝ่ายจะเลือกอะไร เราก็ได้ "มากกว่าเขา" เสมอ ดังนั้น ทางเลือก A จึงเป็นกลยุทธ์หมอบที่น่าหลบเลี่ยงของเราเสมอ ด้วยวิธีการให้เหตุผลอย่างเดียวกัน
แท้ที่จริงแล้ว แก่นแท้ของการใช้ทฤษฎีเกม หรือ การคิดเชิงกลยุทธ์ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม แต่เป้าหมายของเราคือ การมุ่งเลือกทางเลือกที่จะสามารถรักษา/ได้รับผลประโยชน์ของตัวเราเองให้ได้มากที่สุด
ดังนั้น จากตัวอย่างสถานการณ์ข้างต้น ทางเลือก A จึงเป็นกลยุทธ์เด่นของเรา เพราะไม่ว่าเขาจะเลือกอะไร เราจะได้ผลตอบแทนมากที่สุดเสมอในความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้น
หากเราไม่พยายามจะเอาชนะกันและกันมากจนเกินไปนัก มากจนบ่อยครั้งถึงขั้นทำร้ายตัวเอง เพื่อให้อีกฝ่ายได้ผลตอบแทนที่น้อยลง หากเราหันกลับมามุ่งพิจารณาทางเลือก เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ต่อตัวเองมากที่สุด บางทีโลกอาจจะเกิดความผาสุขท่ามกลางมนุษย์ผู้กำลังแย่งชิงกัน มากกว่า ณ ปัจจุบันนี้ก็เป็นได้
Jul 2, 2009
ทฤษฎีหงส์ดำ
ครั้งที่แล้วพูดถึงแกะดำไปแล้ว ครั้งนี้มาพูดถึงหงส์ดำกันบ้างนะครับ หงส์ดำนี่ไม่ได้เป็นอะไรกับหงส์แดงนะครับ (ผมเชียร์ลิเวอร์พูลมา 20 ปีแล้วครับ) แล้วก็ไม่เกี่ยวกับ สิงห์ดำ-สิงห์แดง ของสองฟากเด็กคณะรัฐศาสตร์ด้วย
แต่ทฤษฎีนี้ เป็นชื่อทฤษฎีทางอนาคตศึกษาซึ่งดังระเบิดเถิดเทิงของนาย "นัชชิม ตาลีบ" (Nassim Nicholas Taleb) โดยเฉพาะในวงการตลาดทุนตลาดเงิน ที่กำลังนำทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง
เคยคิดจะเขียนเรื่อง หงส์ดำ มาครั้งหนึ่งแล้ว
ตอนนั้น ไปอ่านเจอในนิตยสารฉบับหนึ่งว่า โลกเมื่อก่อน ไม่เคยมีใครพบเห็นหงส์สีอื่นนอกจากสีขาว จึงเชื่อกันอย่างสุดใจว่า หงส์มีแต่สีขาวเท่านั้น จนมีการค้นพบ หงส์สีดำตัวเป็นๆ ที่ออสเตรเลียเป็นครั้งแรก ความคิดของ(คนใน)โลกนี้ ก็เปลี่ยนไป
เนื้อหาใจความหลักของ ทฤษฎีหงส์ดำ (Black Swan Theory) นั้น พูดกันง่ายๆ ทฤษฎีนี้บอกว่า ความรู้เก่าๆ รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วนั้น อย่าเพิ่งด่วนสรุปหรือรีบร้อนเชื่อเร็วเกินไป เพราะอาจไม่เป็นประโยชน์ที่จะนำมาใช้สามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
สิ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีจริง สิ่งที่มองเห็น อาจเป็นผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นที่เราคิดไม่ถึง มองไม่เห็น บ่อยครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีอยู่จริงๆ
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ หาอ่านได้จากหนังสือของเขาครับ
ผ่านๆตาดูแล้ว ท่าทางว่านายตาลีบเนี่ย จะค่อนข้างโน้มเอียงมาทางนักปรัชญายุคใหม่ทางสาย เฮเกล, มาร์กซ พอสมควร
แต่ก็มีบางมุมที่ช่วยทำให้ผมเข้าใจตัวเองและวิธีคิดของตัวเองมากขึ้นด้วย
โดยส่วนตัว ผมชอบ Part 2 ของหนังสือเล่มนี้มากครับ We just can't predict
กระบวนการในการหาคำตอบ สำคัญกว่าคำตอบที่กำลังหา (อ่านย้อนหลัง เรื่อง นักปรัชญา ได้ครับ)
ผมคิดว่า คนเรานั้นหากไม่รู้จักตรึกตรองเผชิญหน้ากับตัวเองในที่สงบ อาจทำให้เรารู้ไม่เท่าทันตัวเราเอง
บางสิ่งที่เราเชื่อ ที่เรายึดถือไว้เป็น ต้นแบบ ในเรื่องต่างๆของชีวิตเรา อาจกลายเป็น กรอบ ให้เราคิดอย่างมีอคติ โดยไม่รู้ตัว
ถ้ามีคนอื่นเห็น ช่วยเตือน ช่วยบอกเราได้ก็ดีไป สิ่งนั้น ก็เป็นแค่ blind-self ของตัวเราเอง (แต่ก็ขึ้นอยู่กับเราอีกนั่นแหล่ะนะ ว่าจะเชื่อสิ่งที่เขาบอกหรือเปล่า)
ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่า ไม่มีใครเห็นเลย ตัวเราเองก็ไม่เห็นตัวเอง คนรอบข้างก็มองไม่เห็น เป็น hidden-self ที่รอวัน shock ตกตะลึงตึงตังพร้อมกันว่า "โลกนี้มีหงส์สีดำจริงๆนะ จะบอกให้..."
------------------------------------------------------------------------
ลองค้นดู มีคนreviewไว้ให้อ่านด้วย
http://www.gotomanager.com/books/details.aspx?menu=books,new&id=845
แต่ทฤษฎีนี้ เป็นชื่อทฤษฎีทางอนาคตศึกษาซึ่งดังระเบิดเถิดเทิงของนาย "นัชชิม ตาลีบ" (Nassim Nicholas Taleb) โดยเฉพาะในวงการตลาดทุนตลาดเงิน ที่กำลังนำทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง
เคยคิดจะเขียนเรื่อง หงส์ดำ มาครั้งหนึ่งแล้ว
ตอนนั้น ไปอ่านเจอในนิตยสารฉบับหนึ่งว่า โลกเมื่อก่อน ไม่เคยมีใครพบเห็นหงส์สีอื่นนอกจากสีขาว จึงเชื่อกันอย่างสุดใจว่า หงส์มีแต่สีขาวเท่านั้น จนมีการค้นพบ หงส์สีดำตัวเป็นๆ ที่ออสเตรเลียเป็นครั้งแรก ความคิดของ(คนใน)โลกนี้ ก็เปลี่ยนไป
เนื้อหาใจความหลักของ ทฤษฎีหงส์ดำ (Black Swan Theory) นั้น พูดกันง่ายๆ ทฤษฎีนี้บอกว่า ความรู้เก่าๆ รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วนั้น อย่าเพิ่งด่วนสรุปหรือรีบร้อนเชื่อเร็วเกินไป เพราะอาจไม่เป็นประโยชน์ที่จะนำมาใช้สามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
สิ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีจริง สิ่งที่มองเห็น อาจเป็นผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นที่เราคิดไม่ถึง มองไม่เห็น บ่อยครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีอยู่จริงๆ
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ หาอ่านได้จากหนังสือของเขาครับ
ผ่านๆตาดูแล้ว ท่าทางว่านายตาลีบเนี่ย จะค่อนข้างโน้มเอียงมาทางนักปรัชญายุคใหม่ทางสาย เฮเกล, มาร์กซ พอสมควร
แต่ก็มีบางมุมที่ช่วยทำให้ผมเข้าใจตัวเองและวิธีคิดของตัวเองมากขึ้นด้วย
โดยส่วนตัว ผมชอบ Part 2 ของหนังสือเล่มนี้มากครับ We just can't predict
กระบวนการในการหาคำตอบ สำคัญกว่าคำตอบที่กำลังหา (อ่านย้อนหลัง เรื่อง นักปรัชญา ได้ครับ)
ผมคิดว่า คนเรานั้นหากไม่รู้จักตรึกตรองเผชิญหน้ากับตัวเองในที่สงบ อาจทำให้เรารู้ไม่เท่าทันตัวเราเอง
บางสิ่งที่เราเชื่อ ที่เรายึดถือไว้เป็น ต้นแบบ ในเรื่องต่างๆของชีวิตเรา อาจกลายเป็น กรอบ ให้เราคิดอย่างมีอคติ โดยไม่รู้ตัว
ถ้ามีคนอื่นเห็น ช่วยเตือน ช่วยบอกเราได้ก็ดีไป สิ่งนั้น ก็เป็นแค่ blind-self ของตัวเราเอง (แต่ก็ขึ้นอยู่กับเราอีกนั่นแหล่ะนะ ว่าจะเชื่อสิ่งที่เขาบอกหรือเปล่า)
ถึงอย่างไรก็ยังดีกว่า ไม่มีใครเห็นเลย ตัวเราเองก็ไม่เห็นตัวเอง คนรอบข้างก็มองไม่เห็น เป็น hidden-self ที่รอวัน shock ตกตะลึงตึงตังพร้อมกันว่า "โลกนี้มีหงส์สีดำจริงๆนะ จะบอกให้..."
------------------------------------------------------------------------
ลองค้นดู มีคนreviewไว้ให้อ่านด้วย
http://www.gotomanager.com/books/details.aspx?menu=books,new&id=845
Subscribe to:
Posts (Atom)