Jan 20, 2016

ชีวิตมั่งคั่งด้วย การใส่ใจ (กระเป๋าสตางค์ใบเดียว)

วันก่อนไปเดินเล่นที่ห้องสมุดมารวย
เพิ่งมาเปิดที่ อาคารตลาดหลักทรัพย์ รัชดา
ใกล้บ้านชนิดที่เดินไปได้ ดีใจสุดๆ ต่อไปนี้จะได้มีที่นั่งอ่านหนังสือสบายๆ ละ
(จะดีมาก ถ้าปิดเที่ยงคืน 555)
เดินหยิบนี่พลิกนู่น ก็ไปสะดุดตากับ sub tag line ในหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่ง
ว่า "ถ้าไม่รู้จะเปลี่ยนอะไร ให้เริ่มเปลี่ยนที่กระเป๋าสตางค์"
ก็เลยลองยืมมาอ่าน บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องโชคลาง บางคนว่าเป็นเรื่องจิตวิทยา
หนังสือเล่มนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดธุรกิจ
แต่ผมอ่านแล้ว แอบคิดว่า มันน่าจะอยู่หมวดพัฒนาตัวเองมากกว่านะ

- การใช้เงินสะท้อนความคิดการใช้ชีวิต

- คนที่หาเงินเก่ง มักจะใส่ใจเรื่องเงิน
มีกฎการใช้เงิน คือ ยินดี (welcome) เมื่อได้เงินมา มีเหตุผลเมื่อจ่ายเงินไป

"กฎ 200 เท่า" รายได้ต่อปี = ราคากระเป๋าสตางค์ x 200 (จากประสบการณ์ของผู้เขียน)

- ท่าทีต่อกระเป๋าสตางค์สะท้อนท่าทีต่อเงิน และสะท้อนท่าทีที่มีแก่สิ่งอื่นด้วย

- กระเป๋าทรงยาว สวย มักราคาสูง จิตใต้สานึกของเราจะจดจ่อไปที่อนาคต
และจะปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายในอนาคตโดยอัตโนมัติ
กระเป๋าสตางค์เป็นที่ต้อนรับเงิน กระเป๋าที่สวย เงินอยู่สบาย จึงดึงดูดคน(ซึ่งถือเงิน)ได้ดี

- การดูแลกระเป๋าสตางไม่ให้อ้วน ด้วยการทำ daily clearing
ในอีกมุมหนึ่ง ช่วยให้เรารู้ว่าตอนนี้เรามีเงินสดอยู่ในมือเท่าไหร่

- บัตรสะสมแต้ม เป็นเครื่องมือการตลาดของธุรกิจเพื่อรักษาฐานลูกค้า
แต่มันอาจจะกระตุ้นให้เราใช้จ่ายเพี่มขึ้นอย่างไม่มีเหตุผลได้
ทำให้เราตกหลุมพลางแล้วต้องใช้เงินอย่างไม่เป็นตัวเอง

- การซื้อเพราะถูก
สะท้อนว่า "เราดำเนินชีวิตโดยยอมให้ปัจจัยภายนอกมีผลควบคุมชีวิตเรา"
ดังนั้น"จงซื้อเพราะอยากได้"
(ซึ่งคนที่ conduct ชีวิตตัวเองไม่ได้ รวยยาก)

- การมองหาแต่ของถูก
จะทำให้เราไม่ได้สนใจคุณค่าที่แท้จริง
(เราซื้อ/ขายของเพราะ คุณค่า ไม่ใช่ เพราะ ราคา)

- การจะซื้อของราคาสูงได้ ต้องใช้ความกล้า
และมองเห็นว่าเป็นการลงทุนระยะยาว
(ถ้าเราเห็นว่าเป็นการลงทุน แสดงว่าเราใช้เหตุผล)

- คนที่เก็บเงินอยู่เพราะมีความสามารถเรื่องการควบคุมการใช้เงินสูง
ซึ่งเริ่มต้นจาก การใส่ใจเรื่องเงิน

- กระเป๋าสตางค์ควรไว้เก็บธนบัตร ส่วนเหรียญแยกอีกกระเป๋า

- ชำระเงินด้วยธนบัตรใหม่ แสดงถึงการใส่ใจผู้รับ ใครๆ ก็อยากได้แบงค์ใหม่
(คนที่ใส่ใจคนอื่น ย่อมเป็นคนที่คนอื่นอยากทำงานด้วย)

- ยึ่นเงินให้อย่างสุภาพ สะท้อนท่าทีการให้เกียรติคนอื่น
(เหมือนกัน ใครๆ ก็อยากทำงานกับคนที่อ่อนน้อมถ่อมตน)

- การจ่ายเพื่อให้ได้ของมูลค่าเท่ากันในปัจจุบัน เรียกว่า "การบริโภค"
ได้ของมูลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต เรียกว่า "การลงทุน"
แต่ถ้าจ่ายโดยไม่ได้คิด ได้มูลค่าในปัจจุบันไม่เท่ากับที่จ่าย
หรือไม่เกิดมูลค่าเพิ่มในอนาคต เรียกว่า "การผลาญ"

- มีการบริโภคบางรูปแบบ ที่เป็นการลงทุน

- การลงทุนเป็นการต่อจิกซอว์ชีวิต การลงทุนจึงเริ่มต้นที่ เป้าหมายชีวิต

- ถ้าคิดจะเก็บเงิน ให้ระวัง ทางออก ของเงินให้ดี
เงินมักเข้าทางเดียวแต่ออกหลายทาง

- การบริหารกระแสเงินสดให้ได้ดี เกิดจาก การบริหารรายจ่ายที่ไม่คาดฝันได้ดี

- การถอนเงินตามสะดวก (ใช้บัตร AT) มีแนวโน้มว่าเราไม่มีแผนทางการเงิน
และควบคุมเงินไม่ได้ เดือนนึงควรถอนแค่2ครั้ง และถอนที่ธนาคารเท่านั้น

- การเก็บเงินเป็นวิธีการ ไม่ได้เป็นเป้าหมายโดยตัวมันเอง
การมีเงินเยอะ ไม่ใช่แค่ความมั่งคั่งทางวัตถุ แต่คือการมีโอกาส มีทางเลือกให้ชีวิตเยอะ

- พ่อค้าแคว้นโอมิ มีแนวคิดการค้าขาย ต้องได้ทั้งสามฝ่าย คนขาย คนซื้อ และ สังคม

- การคิดเพ้อฝัน วันละ 1 นาที เพื่อช่วยกระตุ้น/ผ่อนคลาย จากสถานการณ์ปัจจุบันตรงหน้า

- เปลี่ยนของใช้คู่กาย ให้สมกับ สถานะ ที่เราต้องการจะเป็น
ง่ายที่สุด คือเลือกเสพ ข้อมูล คุณภาพสูง โดยเฉพาะจากประสบการณ์ของตัวเอง
(ดังนั้น ข้อมูลคุณภาพสูง จึงเกิดจากการลงมือทำ การมีประสบการณ์ตรง)


ประเด็นจึงไม่ใช่เรื่องกระเป๋าสตางค์ เพียงแต่เงิน เป็นสิ่งที่เราหยิบใช้อยู่เป็นประจำ
วิธีที่เราปฎิบัติกับเงิน จึงสะท้อน ท่าที ความคิด ตัวตนของเรา
รวมถึงวิธีที่เราปฎิบัติกับคนรอบข้างเราด้วย

แนวทางที่แนะนำไว้ในหนังสือ จึงเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยสร้างทัศนคติให้แก่เรา
ช่วยฝึกให้เราใส่ใจ รวมถึงเห็นคุณคำของผู้อื่นและสิ่งต่างๆ
ซึ่ง ความใส่ใจ นี่แหล่ะ ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญให้เรามั่งคั่งได้

เพราะการเป็นคนใส่ใจ ให้เกียรติผู้อื่น นั้นเป็นคุณสมบัติของคนที่น่าคบค้าสมาคมด้วย
ซึ่งนั่นจะเป็นเหตุให้"เรียกเงิน"ได้

การเปลี่ยนแปลงของความมั่งคั่งจึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงชีวิต
เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงท่าทีภายใน ซึ่งทั้งหมดเริ่มต้นได้ด้วยการเปลี่ยนกระเป๋าสตางค์ใบเดียว


ปล. หนังสือ ชีวิตมั่งคั่งด้วยกระเป๋าสตางค์ใบเดียว
เขียนโดย Junichiro Kameda (จุนอิชิโร คะเมะดะ)
สำนักพิมพ์ welearn

Jan 3, 2016

การเขียน เป็นเรื่องของการเรียนรู้...

ในแวดวงของนักการตลาด เรื่อง Content marketing ได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอย่างกว้างขวาง หลายฅนคงเคยได้อ่านบทความแนะนำ วิธีการ เขียน Content อย่างไรให้โดนใจฅนอ่าน จะตั้งชื่ออย่างไรให้คนสนใจ หรือ content ฮิตต้องทำอย่างไร บลา บลา บลา...
นี่ยังไม่รวมแนวคิด passive income สร้างรายได้จากการเขียน หรือการทำ blog พวก เขียนอย่างไรให้รวยอีกนะ

ทำให้ยุคสมัยนี้ ใครๆ ก็พากันเขียน พากันสร้าง content ด้วยหวังอยากจะ ได้ การแชร์เยอะๆ สร้าง content ให้เป็นที่นิยมในวงกว้าง...

อนิจจา... อาเมน
.
.
.

ผมสังเกตตัวเอง ช่วงที่ผมไม่ค่อยเขียนอะไรออกมา ผมมักมีข้ออ้างว่า ไม่มีเวลา แต่พอลองคิดดูจริงๆ ไม่ใช่ว่าเพราะผมไม่มีเวลาเขียน
แต่เป็นเพราะ ผมไม่ได้เรียนรู้อะไรเพิ่ม หรือเรียนรู้แต่ไม่ได้เอามานั่งย่อยจนตกผลึกเป็นความเข้าใจของตัวเองมากกว่า

สำหรับตัวผมเอง การเขียน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว ความคิด มุมมองของเรา ออกมาให้กว้างใหญ่กว่าตัวของเรา

ตัวผมอยู่ที่กรุงเทพ อาจจะกำลังหลับอยู่ แต่คนที่อเมริกาหรือที่ไหนๆ ก็อ่านสิ่งที่ผมเขียนได้ และเขายังแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นแย้งไว้ได้
เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด และอาจกลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาก็ได้

...
ปีนี้ เดิมทีผมตั้งใจจะเขียนให้สม่ำเสมอมากขึ้น
แต่หลังจากได้ไตร่ตรองแล้ว จุดที่ผมต้องให้ความสำคัญจึงไม่ใช่เรื่องความสม่ำเสมอของการเขียน
แต่คือความสม่ำเสมอของการเรียนรู้ต่างหาก

ผมคิดว่าการเขียน หรือ สร้าง content นั้น ต้องไม่ใช่สักแต่เขียน หรือเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อได้อะไรบางอย่างกลับมา จนการเขียนนั้นกลายเป็น มลภาวะด้านการอ่านแก่ฅนทั่วไป
แต่การเขียน คือ การบันทึกความคิด ความเข้าใจที่เราได้เรียนรู้มา

การเขียน จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ก่อนที่จะเป็นเรื่องของการแบ่งปัน และ การสื่อสาร

แล้วหลังจากนั้น เราจะนำ การเขียน ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ไม่ว่าเรื่องการตลาด การประชาสัมพันธ์ หรือเรื่องอื่นๆ นั่นก็เป็นเรื่องของการประยุกต์อีกที เช่น การทำ Content marketing
ดังนั้น คำถามจึงไม่ใช่แค่ถามว่า จะทำ content อย่างไร เท่านั้น

สำหรับการทำ content marketing ผมมีคำถามเบื้องต้น 3 คำถาม ที่ผมขอแนะนำ คือ
1. ใครคือคนที่เราต้องการจะสื่อสารด้วย
2. สื่อ ของเรา จะเข้าถึง คนเหล่านั้นได้อย่างไร
3. คนเหล่านั้น จะได้ประโยชน์ (ที่เขาต้องการ) อะไรจากสื่อของเรา

แต่ content marketing ก็ไม่ใช่แค่เรื่องของการเขียนเท่านั้น อีกทั้งว่ากันตามจริง คำถาม 3 ข้อนี้ ก็อยู่กลางเรื่องแล้ว ยังมีคำถามที่ต้องถามก่อนหน้านี้ และหลังจากนี้ เพื่อให้การทำ content marketing ประสบความสำเร็จตามต้องการ


ไว้ค่อยมาเขียนต่อละกันนะ
------------------------------

Writing is a way to communicate what you've learnt and thought
- arthur -